THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย Larry Lohmann
วันที่ 5 พฤศจิกายน 2010
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย https://riskacademy.blog/what-is-a-risk-its-not-what-you-think-it-is/
อ้างอิง https://rb.gy/nfwj6

(ต่อจากวันอังคาร)

ทั้งลักษณะที่เป็นความเสี่ยงและความปลอดภัยไว้ก่อนของ Bricolage ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการแปลงความไม่แน่นอนให้เป็นสินค้านั้นอาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่มากกว่าตามมา การที่เราตระหนักได้ว่าสูตรที่ใช้ในการคำนวณเพื่อการออกแบบสินค้า Future นั้นทั้งเรียบง่ายเกินไปและขาดเสถียรภาพในหลายๆด้านไม่ใช่เรื่องที่เป็นความลับของ Wall Street เลย นักเทรดที่ฉลาดและมากประสบการณ์ชี้ให้เห็นว่าในขณะที่สินค้าแห่งความไม่แน่นอนที่ถูกออกแบบด้วยโมเดลทางคณิตศาสตร์อาจเพิ่มโอกาสในการทำกำไรชั่วคราว แต่ก็จะนำไปสู่ความล่มสลายของตลาดในที่สุด ยกตัวอย่างเช่น George Soros ที่เดินรอยตามนักเศรษฐศาสตร์ลัทธิ Keynesian อย่างนาย Hyman Minsky ได้ชี้ให้เห็นว่าความขาดเสถียรภาพและสมดุลของตลาดเงินทำให้เกิดแรงต้านต่อโมเดล Quantism ส่วนนักเทรด Options นาย Nassim Nicholas Taleb นั้นก็ทำให้ตนเองเสียชื่อเสียงด้วยการส่งคำเตือนให้แก่สถาบันการเงินที่พึ่งพาโมเดลว่าพวกเขากำลัง ‘เก็บเหรียญบาทที่ตกอยู่กลางถนนในขณะที่รถสิบล้อกำลังวิ่งเข้ามา’ แม้แต่คู่มือของนักการเงินกระแสหลักเองยังระบุว่าหลักประกันที่เพิ่มขึ้นทำให้สินค้าแห่งความไม่แน่นอนใหม่ๆมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดภาวะฟองสบู่และฟองสบู่แตกเมื่อต้องนำเงินทุนสำรองออกมาใช้ และทฤษฎี ‘ตลาดที่มีประสิทธิภาพ’ ก็จะกลายเป็นเพียงเศษกระดาษ

โปรดสังเกตว่าในการบริหารความเสี่ยงนั้น โมเดล Quantism เพิ่มความมั่นใจของนักลงทุนจนถึงระดับที่เกินพอดี ตามที่นาย George Cooper แห่ง Alignment Investors เคยเปรียบเทียบไว้ว่า ‘โมเดลมันจะได้ผลก็ต่อเมื่อไม่มีการนำไปใช้งาน’ ส่วนนาย Satyajit Das ผู้เชี่ยวชาญตลาดอนุพันธ์เห็นด้วยกับหลักเหตุผลที่ว่าการขับเคลื่อนการบริหารความเสี่ยงจะนำไปสู่สถานะที่เป็น ‘ความบันเทิงล้วนๆ’ ด้วยการผลักดันโมเดล Quantism ไปสู่จุดที่เสแสร้งว่าสามารถสร้างโมเดลทำนายผลได้ทุกอย่างแม้แต่นายธนาคารประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน แม้แต่ผู้บริหารธนาคารเองก็ต้องการปกป้องโมเดล Quantism ด้วยการยอมรับว่า ‘โมเดลมีข้อผิดพลาดที่ฝังซ่อนอยู่เพราะว่ามันมองย้อนไปข้างหลังอย่างเดียว’ นาย Fischer Black ผู้เชี่ยวชาญด้าน Quantism เองก็ตระหนักดีถึงช่องโหว่ใน BlackScholes เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าแนวโน้มที่จะทำลายตัวเองของโมเดลขึ้นอยู่กับขนาด ความเร็ว ความซับซ้อน และความแนบแน่นในการรวมตัวกับธุรกรรมทางการเงินยุคใหม่ที่โมเดลนั้นเองสร้างขึ้น เมื่อถึงปี 2005 นาย Timothy Geithner ประธานเฟดในขณะนั้นได้ออกมายอมรับว่าถ้าอนุพันธ์สามารถทำให้ระบบมีเสถียรภาพได้ ก็จะทำได้ด้วย ‘มูลค่าราคาที่ทำให้ระบบยิ่งขาดเสถียรภาพมากขึ้นในที่สุด’ ดังที่นักบริหารความเสี่ยงนาย Richard Bookstaber กล่าวไว้ว่า ‘ในสถานการณ์ที่สภาพคล่องที่ควรใช้เป็นหลักประกันเป็นสำคัญ แต่กลับสูญหายไปในวังวนแห่งวิกฤติ เพียงเพราะว่าคุณสามารถเปลี่ยนให้กระแสเงินสดเป็นสินทรัพย์ที่ซื้อขายได้ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณควรทำเช่นนั้น ความเป็นไปได้ของการเทรดที่ไม่มีที่สิ้นสุดอาจทำให้เกิดผลร้ายมากกว่าผลดี’

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยจำนวนหนึ่งที่ยับยั้งแนวโน้มสินค้าแห่งความไม่แน่นอนลง ปัจจัยแรกได้แก่นักเทรดที่เข้าใจว่าโมเดลที่ใช้ชดเชยความไม่มีประสิทธิภาพโดยพึ่งพาทริก ‘dark twin’ เก่าๆและความเข้าใจในบริบทท้องถิ่นถึงสถานการณ์ความเป็นไปได้ที่ได้มาจากการสั่งสมประสบการณ์มาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะมีเจตนาหรือไม่ก็ตาม เรื่องนี้มีผลทำให้เกิดการซุกซ่อนจุดอ่อนของโมเดลจากการขาดประสบการณ์ด้านเทคนิคของลูกค้า รัฐบาล และสาธารณชน ปัจจัยประการที่สอง นักเทรดหลายรายใช้ความผิดพลาดของโมเดลเพื่อการหากำไร ทำให้โมเดลครองตลาดแทนที่จะถูกปลดระวางออกไปจากความไม่ถูกต้องสมบูรณ์ของมัน ประการที่สาม การทำให้การแปลงความไม่แน่นอนให้เป็นสินค้าเกิดความเรียบง่ายกลับก่อให้เกิดความซับซ้อนที่ส่วนหนึ่งเกิดจากแรงกดดันที่มีต่อโมเดล Quantism ที่ต้องแก้ปัญหาทางเทคนิคที่เกิดจากความไม่แน่นอนในกรอบความน่าจะเป็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งปัญหานี้ทำให้เกิดความคลุมเครือของปัญหาที่ซ่อนอยู่ที่เกิดจากการเทรด นักบริหารความเสี่ยงและนักกฎหมายตรวจสอบเรื่องนี้อย่างเข้มงวดเมื่อพวกเขาพยายามจัดการกับความเสี่ยงที่เกิดจากสินค้าด้วยการเพิ่มสินค้าระดับที่สูงขึ้นและละเลยข้อเท็จจริงที่ว่าถ้าการบริหารความเสี่ยงสามารถที่จะล้มเหลวได้ในแบบที่คาดไม่ถึง ดังนั้นการเพิ่มการควบคุมก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ แต่อย่างไรก็ตามการเพิ่มสินค้าก็สามารถเพิ่มการจ้างงานได้ดี ประการสุดท้ายซึ่งเป็นประการที่สำคัญที่สุดได้แก่ความซับซ้อนที่สินค้าแห่งความไม่แน่นอนสร้างขึ้นเป็นม่านอำพรางความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบที่จะส่งต่อให้ลูกค้าและความเสี่ยงที่เป็นระบบที่จะส่งต่อให้รัฐและผู้เสียภาษี ถ้าโมเดล Quantism ยังคงผลิตอนุพันธ์ออกสู่ตลาดอยู่เรื่อยๆก็มิได้เป็นเพราะว่าไม่มีใครเห็นข้อเสียหรือแนวโน้มที่จะเกิดผลร้ายตามมา แต่เป็นเพราะนักเทรด นักการธนาคาร และนักการเมืองก็จะพบว่าตนเองไม่ทราบว่าทางเลือกอื่นคืออะไร เมื่อถูกกดดันจากสภาวะการแข่งขันของตลาดเพื่อที่จะรักษาระดับการผลิตสินค้าแห่งความไม่แน่นอนไว้ ประสิทธิภาพการผลิตที่ได้ให้คำมั่นไว้แม้ว่าจะเป็นการชั่วคราวก็จะต้องถูกนำมาตีขลุมว่าสามารถพัฒนาให้สมบูรณ์แบบได้ในทางทฤษฎี และไม่ว่าจะเป็นนักเทรด ผู้บริหาร นักบริหารความเสี่ยง สื่อมวลชน รัฐบาล และสาธารณชน ก็จำต้องยอมรับว่าโมเดลที่มีข้อบกพร่องอยู่เนื้อในมักถูกนำไปแปลความว่า ‘พอรับได้’ หรือ ‘ใช้ให้เป็นประโยชน์ด้วยความเสี่ยงของคุณเอง’ (อ่านต่อวันเสาร์)


Social Share