THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย Larry Lohmann
วันที่ 5 พฤศจิกายน 2010
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย https://www.wallstreetmojo.com/cap-and-trade/
อ้างอิง https://rb.gy/nfwj6

(ต่อจากวันเสาร์ที่แล้ว)

แนวคิดพื้นฐานของการผลิตสินค้าใหม่

เช่นเดียวกับตลาดอนุพันธ์ที่ตลาดคาร์บอนประสบปัญหาความซับซ้อนในการแยกแยะและนิยามสินค้า หนึ่งในแนวทางการกำหนดนิยามได้แก่การแปลงประโยชน์/ผลเสียด้านภูมิอากาศให้เป็นสินค้า โดยรัฐเป็นผู้กำหนดปริมาณอุปทานมิให้มากเกินพอดีและขายหรือเสนอสินค้านั้นแก่อุตสาหกรรมที่ปล่อยมลภาวะแบบให้เปล่า ดังนั้นการซื้อขายสินค้าจึงน่าจะชะลอภาวะโลกร้อนอย่างคุ้มทุน หรืออีกแนวทางหนึ่งได้แก่รัฐเป็นผู้จัดสรรวงจรคาร์บอนบนโลกหรือเสถียรภาพของภูมิอากาศให้เป็นสินค้าและเป็นผู้ตัดสินใจว่าควรนำเอาความสามารถทางกายภาพ เคมี และชีวภาพของโลกในการควบคุมสภาพภูมิอากาศมาแปลงให้เป็นสินค้าเพื่อการซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็นจำนวนเท่าใด และใครควรเป็นผู้รับ (ไม่ว่าจะพิจารณาจากมุมมองทางสภาพภูมิอากาศหรือการเมืองก็ตาม) แล้วตลาดจึงทำการจัดสรรความสามารถนั้นให้เกิดความคุ้มทุนสูงสุด แนวทางสุดท้ายได้แก่การซื้อขายสิทธิปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับนานาชาติภาคสมัครใจประกอบกับการบังคับลดปริมาณก๊าซ รวมเป็นปริมาณที่รัฐบาลรับประกันว่า ‘จะหยุดภาวะโลกร้อนลงได้’

สรุปแนวทางการแปลงคาร์บอนให้เป็นสินค้าได้ดังนี้ :

ขั้นตอนที่ 1

ตั้งเป้าหมายลดการใช้พลังงานฟอสซิลโดยกำหนดข้อจำกัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่อนุญาตปล่อยได้และแนวทางเพื่อการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว (Cap)

ขั้นตอนที่ 2

ใช้กลไกกฎหมายออกแบบสินค้าที่เทียบเท่าการลดปริมาณคาร์บอนในบรรยากาศโลกโดยการใช้สมมติฐานกำหนดสถานที่ เทคโนโลยี ชนิดของก๊าซ ที่ทำให้เกิดตลาดสภาพคล่องสูงและต้นทุนต่ำ (Cap and Trade)

ขั้นตอนที่ 3

ตั้งโครงการชดเชยพิเศษในภูมิภาคที่มิได้อยู่ภายใต้ Cap เพื่อเพิ่มจำนวนสินค้าที่เทียบเท่าการลดปริมาณคาร์บอนในบรรยากาศโลกเพื่อเพิ่มสภาพคล่องและลดต้นทุนลงอีกตามหลัก Economy of Scale (Offsets)

ขั้นตอนที่ 4

ใช้การควบรวมโครงการ กฎหมายภาคการเงิน การสร้างหลักทรัพย์ และการกำหนดกติกาการชดเชย ช่วยส่งให้สินค้าชดเชย (หรือคาร์บอนเครดิต) สู่ตลาดสินทรัพย์เพื่อการเก็งกำไร

ขั้นตอนแรกที่สำคัญได้แก่ การชะลอภาวะโลกร้อนจะถูกแปลงให้เป็นการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สามารถตรวจวัดค่าได้ ต่อมาจึงทำการผลิตสินค้าเทียบเท่าโดยใช้สมมติฐานที่ว่าการใช้เทคโนโลยีประเภทหนึ่งลดจำนวนโมเลกุลคาร์บอนในภูมิภาคหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่งๆมีค่าเท่ากับจำนวนโมเลกุลคาร์บอนที่ถูกปล่อยโดยอีกเทคโนโลยีหนึ่งในภูมิภาคหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่งๆ เช่นเดียวกับที่ผู้ที่ออกแบบตลาดอนุพันธ์ใช้สมมติฐานที่ว่าการแยกเครดิตของสินค้าแห่งความไม่แน่นอนออกจากเงินกู้แล้วนำไปใส่ไว้ในวงจรสินค้าเป็นเพียงอุปสรรคทางเทคนิค ดังนั้นนักออกแบบตลาดคาร์บอนจึงตั้งสมมติฐานว่าสามารถแยกเอา ‘ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม’ ออกมาจากความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองที่มุ่งลดการใช้พลังงานฟอสซิล ตามแนวทางนี้ สภาพภูมิอากาศที่ถูกแปลงเป็นตัวสินค้าจึงถือกำเนิดขึ้น และความคุ้มทุนที่เกิดจากการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็กลายมาเป็นโครงการที่ไม่มีผลประโยชน์ทางการเมืองแอบแฝง (Cap and trade) และด้วยสถานะความเป็นสินทรัพย์ ทุนสนับสนุน หรือเครื่องมือทางการเงินที่สามารถปรับให้เหมาะสมกับมาตรฐานทางบัญชีประเภทต่างๆ

ในขั้นตอนที่สามนั้น กระบวนการจะเพิ่มขีดความคุ้มทุนด้วยการผลิตสินค้าที่วัดค่าได้และมีคุณสมบัติเทียบเท่าการลดก๊าซเรือนกระจกและตั้งชื่อสินค้าว่า ‘Offsets’ เมื่อนำไปรวมกับ ‘การลดก๊าซ’ ก็จะเอื้อให้ประเทศและอุตสาหกรรมที่ร่ำรวยจากการใช้พลังงานฟอสซิลชะลอการลดก๊าซเรือนกระจกของตนเองอย่างเป็นรูปธรรมออกไปอีก Offsets ดังกล่าวผลิตโดยโครงการพิเศษที่อ้างว่านำไปสู่ปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศโลกที่น้อยกว่าในกรณีที่ไม่มีโครงการดังกล่าว โครงการประเภทนี้ส่วนใหญ่มักเป็นการปลูกต้นไม้เพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์หรือการสร้างทุ่งกันหันลมหรือเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้า (ที่อ้างว่าเพื่อลดการใช้พลังงานฟอสซิล)

ในทางทฤษฎีนั้น คาร์บอนเครดิตที่ไม่ว่าจะผลิต ณ ที่ใดก็สามารถใช้เพื่อการชดเชยการปล่อยคาร์บอนในประเทศตะวันตกได้ เพราะการชดเชยคาร์บอนตามมาตรา 3 และมาตรา 12 ของพิธีสารเกียวโตระบุไว้ว่า Offset และคาร์บอนเครดิตเหมือนกับการลดก๊าซทุกประการ ดังนั้น พิธีสารเกียวโตเป็นการทำให้ Offsets ที่มีความเป็นนามธรรม เลื่อนลอย และตอบสนองได้หลากหลายวัตถุประสงค์ให้มีกฎหมายรองรับ ในด้านสิ่งแวดล้อมนั้น ความพยายามที่จะชดเชยการปล่อยคาร์บอนด้วยการปลูกป่านี้มีน้ำหนักไม่น้อยไปกว่าการที่แรงงานภาคนามธรรมเกิดเป็นรูปธรรมทางสังคมที่มาร์กซ์เคยบรรยายไว้ และทำให้เกิดความเสี่ยงใหม่ๆเช่นเดียวกับที่สินค้าแห่งความไม่แน่นอนก่อให้เกิดความเสี่ยงในภาคการเงิน อย่างไรก็ตามรัฐบาล นักสิ่งแวดล้อม และนักธุรกิจส่วนใหญ่ก็รับเอาพิธีสารเกียวโตเอาไว้โดยไม่มีคำถามหรือข้อโต้แย้งใดๆ (อ่านต่อวันพฤหัสบดี)


Social Share