THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย Larry Lohmann
วันที่ 5 พฤศจิกายน 2010
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
อ้างอิง https://rb.gy/nfwj6

(ต่อจากวันอังคาร)

Cap and Trade

Cap คือขอบเขตจำกัดของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่อุตสาหกรรม A และ B อนุญาตให้ปล่อยสู่บรรยากาศโลกได้ (ตามภาพประกอบ) ถ้า Cap เท่ากับ 100 ตันคาร์บอนต่อปี รัฐบาลอาจกำหนดให้อุตสาหกรรม A และ B ปล่อยก๊าซได้ไม่เกิน 50 ตันต่อปี ดังนั้นจึงเกิดการซื้อขาย Cap หรือ Cap and Trade ที่ทำให้การลดก๊าซของอุตสาหกรรม A และ B มีต้นทุนที่ถูกลง ซึ่งนำไปสู่ต้นทุนของสังคมที่ถูกลงด้วยตามทฤษฎี ยกตัวอย่างเช่นก่อนที่รัฐบาลจะกำหนด Cap แก่อุตสาหกรรม A และ B ไว้ที่ 100 ตันคาร์บอนต่อปี ทำให้ทั้ง A และ B ต้องลดการปล่อยก๊าซของตนลงมา 50 ตันคาร์บอน ทว่าอุตสาหกรรม A มีต้นทุนในการลดก๊าซที่สูงกว่าอุตสาหกรรม A มากถึงกับว่าต้นทุนที่อุตสาหกรรม B ใช้ในการลดก๊าซลงให้เหลือศูนย์ยังถูกกว่าที่ A ใช้ในการลดก๊าซลงครึ่งหนึ่ง ในกรณีเช่นนี้เปิดโอกาสให้อุตสาหกรรม B ลดก๊าซแกทนอุตสาหกรรม A ในขณะที่อุตสาหกรรมได้รับอนุญาตให้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อไปก็ต่อเมื่อรับภาระต้นทุนที่อุตสาหกรรม B ใช้ในการลดก๊าซแทนอุตสาหกรรม B สมมติว่าราคาที่อุตสาหกรรม B เรียกเก็บจาก A เพื่อนำมาใช้ในการลดก๊าซเรือนกระจกของตนให้เหลือศูนย์นั้นสูงกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง แต่ก็ยังต่ำกว่าต้นที่ที่ A ต้องใช้ในการลดก๊าซลง 50 ตันคาร์บอน ในกรณีนี้อุตสาหกรรม B ก็จะสามารถทำรายได้จากการช่วยให้อุตสาหกรรม A ประหยัดต้นทุนได้อีกทางหนึ่ง ด้วยวิธีนี้ อุตสาหกรรมทั้งสองรายได้ประโยชน์ ในขณะที่รักษาระดับคาร์บอนไว้ที่ 100 ตันต่อปีได้ด้วย ไม่ว่า Cap จะมีขนาดเท่าใดก็ตาม ต้นทุนที่ใช้ในการลดก๊าซเรือนกระจกจะลดลงได้ด้วยการซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซอยู่เสมอ ดังนั้นในทางทฤษฎีแล้วรัฐบาลก็จะสามารถที่จะลด Cap ลงได้ทุกปีเนื่องจากต้นทุนในการลดก๊าซนั้นจะต่ำลงไปเรื่อยๆ

อย่างไรก็ตามโครงการแปลงมลภาวะให้เป็นสินค้านี้ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบทางการเมืองและสิ่งแวดล้อมอยู่หลายประการ ประการแรกคือกลไกนี้แยกตลาดคาร์บอนออกจากตัวปัญหาสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นกับตลาดที่ดินที่ทำให้เกิดกระบวนการที่เป็นนามธรรมที่แยกตัวออกจากการใช้ประโยชน์จากที่ดิน เนื่องจากปัญหาโลกร้อนต้องการแนวทางเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคพลังงานในระยะยาว ผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศโลกเป็นผลกระทบที่ไม่สามารถแก้ไขกลับคืนได้ในช่วงอายุของคนรุ่นหนึ่งๆ และภาวะโลกร้อนกำลังก่อให้เกิดหายนะต่อสภาพภูมิอากาศและมหาสมุทรของโลก ดังนั้นเราจึงต้องเก็บกักคาร์บอนไว้ใต้ดิน ประเทศอุตสาหกรรมได้สำรวจความเป็นไปได้ที่จะทดแทนพลังงานฟอสซิลด้วยพลังงานสะอาดในภาคการเกษตร อาหาร และขนส่งในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา โครงสร้างพื้นฐานในประเทศอุตสาหกรรมจะต้องได้รับการจัดสรรใหม่ และรัฐจะต้องโยกย้ายทุนสนับสนุนพลังงานฟอสซิลไปสู่การพัฒนาพลังงานสะอาดและการบริโภคพลังงานสะอาดเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนเป็นความสำคัญอันดับแรก ส่วนการประหยัดต้นทุนในระยะสั่นนั้นต้องเป็นเรื่องรอง

การดำเนินการในระยะสั้นที่มีประสิทธิภาพต่อการชะลอภาวะโลกร้อนและสามารถลดต้นทุนในระยะยาวได้ด้วยนั้นจะต้องเป็นการเปลี่ยนถ่ายการบริโภคพลังงานจากฟอสซิลเป็นพลังงานสะอาด การลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกร้อยล้านตันคาร์บอนด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในระยะสั้นแต่ยังคงปล่อยให้โครงสร้างพื้นฐานของพลังงานฟอสซิลดำเนินการต่อไปนอกจากจะไม่ส่งผลดีต่อภาวะโลกร้อนแล้วยังทำให้ต้นทุนสูงขึ้นในระยะยาวอีกด้วย ดังนั้นแนวทางที่ถูกต้องคือลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกร้อยล้านตันคาร์บอนด้วยการลงทุนในการพัฒนาพลังงานสะอาดที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในวงกว้าง หรือเปลี่ยนแปลงการผลิตอาหาร พลังงาน และขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยสรุปก็คือ สิ่งสำคัญมิใช่ปริมาณก๊าซที่ลดได้ แต่เป็นวิธีการที่ใช้

อย่างไรก็ตาม Cap and trade ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองสิ่งที่เทียบเท่าการลดก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมากการเพื่อชดเชยกันไม่ว่าการชดเชยนั้นจะมีผลดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมหรือไม่ก็ตาม ดังเช่นระบบชดเชยในตัวอย่างอุตสาหกรรม A และ B ข้างต้นและบริบททางการเมืองของธุรกิจพลังงานไฟฟ้าในประเทศอุตสาหกรรม อุตสาหกรรม ‘A’ ซึ่งเป็นผู้ซื้อคาร์บอนเครดิตรายใหญ่มักเป็นธุรกิจที่ใช้พลังงานฟอสซิลเป็นหลักดังนั้นจึงควรเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องปฏิวัติการใช้พลังงานโดยเร่งด่วน ยกตัวอย่างเช่นบริษัทผลิตกระแสไฟฟ้าที่มี่ผลประโยชน์ผูกพันนับพันล้านดอลล่าร์กับโรงกลั่นน้ำมันนานนับทศวรรษ และ Cap and trade ก็เปิดโอกาสให้อุตสาหกรรมพลังงานชะลอเวลาที่จะปรับโครงสร้างพลังงานออกไปอีกโดยการเสนอผลประโยชน์แก่โรงงานในการซื้อขายคาร์บอนเครดิต นอกจากนี้ยังพึ่งพาโครงสร้างราคาเครดิตที่ไม่สามารถกำหนดไว้ 40 ปีล่วงหน้าได้

Cap and Trade ยึดเอา ‘ความเป็นกลางทางเทคโนโลยี’ เป็นหลักและเบี่ยงเบนประเด็นจากการระดมทุนเพื่อสนับสนุนนวัตกรรมเพื่อการทดแทนพลังงานฟอสซิลอย่างเป็นรูปธรรม (ซึ่งเป็นหนทางที่มีประสิทธิภาพที่สุดแต่วัดค่าได้ยากที่สุด) มาให้ความสนใจกับการแลกเปลี่ยนการปล่อยก๊าซต่างประเภทที่เกิดขึ้นต่างสถานที่และต่างเวลาแทน เมื่อสินค้าซึ่งได้แก่คาร์บอนเครดิตถูกกำหนดขึ้นเพื่อชั่งน้ำหนักระหว่างสังคมและเทคโนโลยีหรือตีตัวออกห่างจากเป้าหมายก็เป็นความเสี่ยงต่อประสิทธิภาพของสินค้าอยู่แล้วตามที่นาย Matthew Whittell แห่งบริษัท Climate Exchange plc ได้ตอบคำถาม ‘วิธีการที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาโลกร้อนคืออะไร?’ ไว้ว่า ‘ถ้าเราสามารถกำหนดราคาคาร์บอนเครดิตได้ ตลาดจะจัดการส่วนที่เหลือเอง’ (อ่านต่อวันเสาร์)


Social Share