THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย Clara Vondrich
วันที่  11 สิงหาคม 2022
แปลและเรียบเรียงโดย          ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย https://en.wikipedia.org/wiki/Veil_Nebula#/media/File:Veil_Nebula_-_NGC6960.jpg
อ้างอิง  https://www.desmog.com/2022/08/11/climate-action-quantum-social-change/

(ต่อจากวันอังคาร)
ขบวนการ Divest-invest มิใช่กลุ่มที่ขับเคลื่อนจากบนลงล่าง เมื่อเกิดแนวคิดใหม่ๆขึ้นในที่ใดที่หนึ่ง การรณรงค์ก็จะเกิดตามมาทันทีทั่วโลก นักแคมเปญที่แตกแขนงออกไปแบ่งปันข้อมูลและกลยุทธ์กันทางออนไลน์ และในการประชุมต่างๆ กลุ่มที่แตกแขงออกไปรับเอาประเด็นร่วมและการระดมทุนไปขยายผลต่อ ซึ่งนำไปสู่เครือข่ายขนาดใหญ่ที่สามารถย้ายภูเขาได้ บทเรียนนี้สอนให้เรารู้ว่า เมื่อนักเปลี่ยนโลกที่มีแนวคิดร่วมสมัยเขามาร่วมมีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนทรัพยากรกันมากขึ้นก็จะเกิดโมเมนตัมและโอกาสที่เพิ่มมากขึ้น นาย Mark Skelding นักทฤษฎีระบบอธิบายปรากฏการณ์นี้โดยอธิบายว่าเราอาศัยอยู่ใน “Psychosphere” ที่ทุกความคิดส่งถึงกันและกัน

ส่วน Non-local Effects นั้นเกี่ยวข้องกับ Entanglement ตรงที่อธิบายว่าสิ่งที่เราทำในแต่ละครั้งส่งผลกระทบที่กว้างไกลและไม่คาดหมาย ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันยิ่งทำให้ Non-local Effects ส่งผลชัดเจนขึ้น ด้วยอินเตอร์เน็ตและแอพพลิเคชั่นมากมายที่ทำให้นักรณรงค์เคลื่อนไหวทางสังคมสามารถสร้างผลกระทบในระดับสากลได้ด้วยเวลาอันรวดเร็ว
ส่วนการเติมเต็มซึ่งกันและกันหรือ Complementarity เป็นอีกแนวคิดเชิง Quantum ที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์เรื่องโลกร้อนเป็นอย่างมาก โดยถือว่าสสารในระดับ Subatom มีรูปร่างที่แตกต่างกันและสามารถเปลี่ยนรูปได้ขึ้นอยู่กับสายตาของผู้มอง เวลา และวิธีการมอง ตัวอย่างที่ใช้กันทั่วไปได้แก่การทดลอง Double-slit ที่มีชื่อเสียงที่พิสูจน์ว่าแสงและสสารมีพฤติกรรมที่เป็นได้ทั้งอนุภาคและคลื่น ในโลกแห่งความไม่มีระเบียบนั้น ตัวกระตุ้นที่เหมาะสมสามารถสร้างผลกระทบที่ไม่คาดคิด การก้าวกระโดดทาง Quantum การเปลี่ยนแปลงที่ไม่เป็นเชิงเส้น การเปลี่ยนรูป เหล่านี้เป็นไปได้เมื่อผู้คนและแคมเปญยอมรับโอกาสและความหวังที่ตามมา

ในระนาบของมนุษยชาตินั้น เป็นที่ชัดเจนว่าเราแต่ละคนคืออนุภาคที่เป็นปัจเจกหรือกลุ่มเซลล์ในสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ที่ชื่อไกอาตามความหมายของ Woodbury แต่แนวคิดของโลกตะวันตกถูกจำกัดโดยมุมมองแบบพหุนาม (เช่น เรากับเขา หรือของเราและของเขา) ต่างจากวัฒนธรรมท้องถิ่น วัฏจักรแห่งธรรมชาติ และ Fractals ที่ใช้ยืนยันข้อเท็จจริงที่มีมิติเชิงคลื่นหรืออีกนัยหนึ่งคือกระแสพลังงานที่ไม่เป็นที่รู้จักที่ไหลตามติดต่อเนื่อง ดังนั้นความจริงทั้งหลายจึงเป็นทั้งอนุภาคและคลื่น แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับตัวเราเมื่อเราเป็นทั้งอนุภาคและคลื่น มันหมายความว่าเราทุกคนมีศักยภาพที่จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ทางสังคมเพื่อสร้างพลังให้เกิดขึ้น เมื่อนึกถึงคลื่นคนรุ่นใหม่นับล้านทั่วโลกที่เดินขบวนเรียกร้องความเป็นธรรมทางภูมิอากาศในเดือนกันยายนปี 2019 การรวมตัวกันของพวกเขามิได้เกิดจากคำสั่งจากเบื้องบน แต่มาจากจิตสำนึกของพวกเขาเองและความกังวลต่อปัญหาที่จะส่งผลลบต่อสังคมในรุ่นของพวกเขา เมื่อ Complementarity ถูกบ่มเพาะขึ้น “ตัวฉัน” จะกลายเป็น “พวกเรา” และประสิทธิภาพเพื่อการเปลี่ยนแปลงก็จะเพิ่มขึ้นอย่างไรขีดจำกัด
ในช่วงเวลาเช่นนี้ เราจึงต้องปฏิรูปความคิดเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนและผลกระทบของมัน คำศัพท์เช่น “เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง” และ “แปรสภาพ” ทำให้นักบริโภคพลังงานสะดุ้ง แต่พวกเขาต้องตื่นจากการหลับใหลและเริ่มรับรู้ควันไฟป่า ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจที่โลกของเรามิได้ดำเนินอยู่ในแนวทางที่จะรักษาระดับอุณหภูมิผิวโลกไว้ไม่ให้สูงขึ้นไปอีกเกิน 2 องศาหรือแม้แต่ 1.5 องศาที่ให้สัตยาบันไว้ในข้อตกลงปารีส และแม้แต่เป้าหมายของข้อตกลงปารีสเองยังไม่เพียงพอเมื่อนักวิเคราะห์ทั้งหลายพบว่าภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มนุษย์ประสบอยู่ในปัจจุบันเกิดจากภาวะโลกร้อน อย่างไรก็ตาม Complementarity เตือนเราว่าลักษณะบางอย่างของวิกฤติโลกร้อนสามารถเกิดร่วมกันได้ ยกตัวอย่างเช่นสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนทำให้ยุโรปและอเมริกาต้องขยายโครงสร้างพลังงานฟอสซิลของตนเพื่อรองรับอุปทานที่หายไป ในขณะเดียวกันก็ลดการบริโภคก๊าซลงในปริมาณที่คงไม่เกิดขึ้นหากไม่มีสงคราม

อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมศักยภาพทาง Quantum นั้นสำคัญมากและแตกต่างจากทฤษฎีความน่าจะเป็นแบบเก่าที่บอกเราว่าความเป็นไปได้ที่จะปกป้องอนาคตของมนุษยชาตินั้นแทบไม่เหลือแล้วตามที่นาย James Hansen ได้กล่าวไว้ว่าความเป็นไปได้มีน้อยก็จริง แต่ศักยภาพก็ทำให้เราก้าวข้ามขีดจำกัดของความน่าจะเป็นไปสู่โลกแห่ง Quantum ที่อะไรๆก็เป็นไปได้ เมื่อพ่อค้ารายหนึ่งจุดไฟเผาตัวเองเพื่อประท้วง อาหรับสปริงก็เกิดขึ้น เมื่อเด็กผู้หญิงคนนึ่งนั่งอยู่โดดเดี่ยวนองอาคารรัฐสภาแห่งประเทศสวีเดนพร้อมป้ายข้อความว่า “Fridays for Future” โลกทั้งใบก็ตอบสนอง ในโลกแห่งความไม่มีระเบียบนั้น ตัวกระตุ้นที่เหมาะสมสามารถสร้างผลกระทบที่ไม่คาดคิด การก้าวกระโดดทาง Quantum การเปลี่ยนแปลงที่ไม่เป็นเชิงเส้น การเปลี่ยนรูป เหล่านี้เป็นไปได้เมื่อผู้คนและการรณรงค์ยอมรับโอกาสและความหวังที่ตามมา และสิ่งเหล่านี้ก็ได้รับการสนับสนุนโดยแนวคิดเรื่อง Quantum และ indeterminacy : ไม่มีอะไรที่แน่นอน ไม่มีอะไรที่เราสามารถทำนายได้ ระเบียบเกิดจากความไม่มีระเบียบ และการเปลี่ยนแปลงสู่ทางที่ดีกว่ายังสามารถเกิดได้จากแนวโน้มที่ดูเหมือนจะมีแต่เลวร้ายลง

ความเป็นไปได้ไม่สิ้นสุด
การทำความเข้าใจในแนวคิดเหล่านี้ช่วยให้เราต่อสู่กับภาวะโลกร้อนได้ดีขึ้น ท่ามกลางข่าวร้ายที่เห็นได้จากทุกหนแห่ง การถอดใจล้มเลิกดูเหมือนจะเป็นทางเลือกที่ดี O’Brien ย้ำว่า “ความเชื่อมั่นนั้นสำคัญ” ถ้าเราเชื่อมั่นว่าจะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้ทันเวลา เราก็จะมีพลังงานที่จะลงมือทำอย่างกระตือรือร้นและเร่งรีบ การนิ่งเฉยไม่ทำอะไรเลยนั้นไม่ได้ช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายแต่ประการใด
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเชิง Quantum ทำให้เกิดกรอบความคิดที่สร้างศักยภาพของเราในการแก้ไขปัญหาโลกร้อน เป็นแนวคิดที่ทำให้เราก้าวข้ามขีดจำกัดด้านความเชื่อ ทำให้เราเชื่อมโยงกับชุมชน เป็นอาวุธที่ใช้ต่อสู้กับลัทธิบริโภคพลังงานฟอสซิลที่นำเราไปสู่หายนะด้านสิ่งแวดล้อม และไม่ใช่เรื่องไร้เดียงสา แต่เป็นสิ่งจำเป็น บางทีการเข้าสู่จุดวิกฤติเป็นสิ่งจำเป็นที่ปลุกความเป็นไปได้ไม่รู้จบในโลกของ Quantum ขึ้นและให้พลังแก่เราทั้งในฐานะของปัจเจกและสังคม ในขณะที่กล้องโทรทัศน์ของ James Webb Space พยายามเชื่อมโยงเรากับสิ่งมีชีวิตนอกโลก มันอาจถึงเวลาที่เราต้องเริ่มจากความเชื่อมโยงกับสังคมรอบข้างเสียก่อน จงจำไว้ว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ยิ่งใหญ่และสำคัญที่เป็นทั้งอนุภาคและคลื่น ดังนั้นจงลุกขึ้นมาต่อสู้กันเถิด (จบ)


Social Share