THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย DREW PENDERGRASS และ TROY VETTESE
วันที่ 2 มิถุนายน 2022
แปลและเรียบเรียงโดย ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย https://www.versobooks.com/en-gb/blogs/news/5351-half-earth-socialism-s-five-book-plan
อ้างอิง https://www.noemamag.com/planning-an-eco-socialist-utopia/

(ต่อจากวันอังคาร)

การวางแผนโดยใช้การคำนวณเชิงธรรมชาติและให้ประชาชนลงคะแนนเสียงกับทางเลือกต่างๆนี้จะทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมและเข้าใจระบบเศรษฐกิจของประเทศและป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่คอรัปชั่นทำให้การบริหารทรัพยากรของประเทศให้ยากต่อการทำความเข้าใจและเข้าควบคุมเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง แม้ว่าวิธีการที่จะเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจแต่ละภาคส่วนเข้าด้วยกันจะซับซ้อนกว่าโปรแกรมเชิงเส้นที่ Kantorovich เคยใช้ ระบอบประชาธิปไตยจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเร่งด่วน

ในปัจจุบัน ทุนนิยมไม่ได้สร้างอนาคตที่สดใสให้แก่มนุษยชาติ ในขณะที่สังคมนิยมกลายเป็นระบบที่เหมาะสมกว่า อย่างไรก็ตาม แม้แต่สังคมนิยมในอุดมคติที่ได้รับการบริหารจัดการเป็นอย่างดีก็อาจเกิดความด้อยประสิทธิภาพและความขาดแคลนได้ แต่ก็คุ้มค่าแก่การแลกเปลี่ยนกับสิ่งอื่นที่ได้มาเช่นสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์ และสังคมที่ปราศจากโรคระบาด ซึ่งเราเรียกสังคมนี้ว่า “Half-Earth Socialism” ที่สามารถรับประกันความมั่งคั่ง ความเท่าเทียม และความเป็นธรรมของสังคมโลก ข้อเสนอนี้เป็นเพียงข้อเสนอหนึ่งในหลายข้อเสนอที่ทำให้มนุษยชาติสามารถหลีกเลี่ยงวิกฤติสิ่งแวดล้อม และด้วยวิสัยทัศน์เชิงประชาธิปไตยของ Otto Neurath เรายินดีต้อนรับเพื่อนร่วมโลกทุกคนเข้ามีส่วนร่วมสร้างสังคมอุดมคติทางวิทยาศาสตร์ของพวกเขาเองขึ้นมา

การสร้างโลกแห่งความเป็นธรรมที่เหมาะสมกับข้อจำกัดทางระบบนิเวศของโลกใบนี้คือเส้นทางแห่งชีวิตที่มนุษย์ทุกคนต้องเดินในศตวรรษที่ 21 นี้ เมื่อครั้งที่เมืองเลนินกราดถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมัน Kantorovich รู้ดีว่าจะต้องมีรถบรรทุกส่งกำลังบำรุงที่หนักเกินไปจะไม่สามารถข้ามผิวทะเลสาบที่เป็นน้ำแข็งได้และจะต้องจมลง แต่ถ้ารถบรรทุกน้อยเกินไป ผู้คนที่ติดอยู่ในเมืองก็จะได้รับเสบียงไม่พอ Half-Earth socialism ก็เช่นเดียวกันที่จะต้องใช้การบริหารจัดการอย่างมีสมดุล โดยจัดสรรทรัพยากรอาหาร ที่อยู่อาศัย การศึกษา สุขภาวะ และสิ่งบันเทิงเริงใจให้แก่ทุกคนอย่างเพียงพอที่จะใช้ชีวิตที่ดีได้ และปกป้องดูแลธรรมชาติและระบบนิเวศให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดีได้ไปพร้อมกัน

ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เป้าหมายนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ “Planetary Boundaries” ที่ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จะต้องคำนวณหาวิธีการที่จะจัดสรรทรัพยากรเพื่อตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์อย่างเพียงพอโดยที่ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ในงานวิจัยเหล่านี้จะไม่สมบูรณ์ถ้าขาดการบรรยายว่าทุนนิยมไม่สามารถนำเราไปสู่เป้าหมายเหล่านี้ได้อย่างไร ความจำเป็นในการวางแผนการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดใน Half-Earth socialism นั้นขัดแย้งกับความวิถีชีวิตที่ฟุ่มเฟือยอย่างไร้สติของระบบทุนนิยม

แม้แต่โมเดลที่ทันสมัยที่สุดที่มีการประมาณการข้อจำกัดของทรัพยากรโลกก็ไม่สามารถช่วยออกแบบระบบนิเวศยุคหลังทุนนิยมที่มีเสถียรภาพได้ ซึ่งมิได้เป็นเพราะความขาดองค์ความรู้ วิศวกรระบบของสถาบันที่สำคัญๆได้ออกแบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Integrated Assessment Models (IAMs) ทีรวมเอาองค์ความรู้ทางฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และเศรษฐศาสตร์เข้าด้วยกับเพื่อสร้างแบบจำลองสถานการณ์โลกในอีก 300 ปีข้างหน้า IAMs คือศูนย์กลางของการเมืองเรื่องสภาพภูมิอากาศ ทุกครั้งที่เรารับฟังข่าวพยากรณ์สภาพอากาศในยุค 2100 วิศวกรที่ใช้ IAM ที่ทำงานอยู่เบื้องหลังกับตัวแปรออย่างภาษีมลภาวะ ความน่าจะเป็นที่จะเกิดนวัตกรรม แบบแผนของเกษตรกรรมและเชื้อเพลิงชีวภาพ อุปสงค์อาหารโลก การอออกแบบระบบพลังงาน และความเปราะบางของสภาพภูมิอากาศโลกกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมต่างๆ

แม้ว่า IAMs เป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง แต่ก็ประสบปัญหาตรรกะเทียมของ Neurath เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น นักออกแบบโมเดลที่ใช้ IAM มักสนับสนุนเชื้อเพลิงชีวภาพที่ผลิตโดยกระบวนการที่เก็บกักและดูดซับคาร์บอน (Carbon Capture and Storage หรือ BECCS) ไม่ได้เป็นเพราะว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการชะลอภาวะโลกร้อน แต่เป็นเพราะ IAMs ใช้ระบบชดเชยที่เทียบเท่าเงินตรา (เช่นแปลง CO2 ให้เป็นเงินตราโดยใช้กลไกภาษีมลภาวะ) และ BECCS เป็นวิธีที่มีประโยชน์ในการใช้โมเดลคำนวณแปลงเงินตราให้เป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่นถ้าเราสนับสนุนโครงการ BECCS เป็นเงิน x ดอลล่าร์ต่อปีจากภาษีมลภาวะ แปลว่าโครงการดังกล่าวจะต้องดูดซับคาร์บอนจากบรรยากาศโลกเท่ากับ y กิโลกรัม

ดังนั้น Pseudorationality หรือปัญหาตรรกะเทียมทำให้เกิดภาพลวงตาว่าเราสามารถสรุปภาวะโลกร้อนให้อยู่ในรูปของสมการอย่างง่ายได้ แต่อันที่จริงแล้วเราจำเป็นต้องใช้ระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบใหม่ ได้แก่ สังคมนิยมสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้เราคิดถึงข้อดีข้อเสียระหว่างเป้าหมายต่างๆที่ทดแทนไม่ได้ เช่นเดียวกับการคำนวณของ Kantorovich เกี่ยวกับรถบรรทุกข้ามทะเลสาบ Ladoga ที่ไม่มีเงินตราหรือสื่อแลกเปลี่ยนสากลประเภทอื่นเข้ามาเป็นตัวแปรบิดเบือนแผนการแก้ปัญหาโลกร้อนในระดับสากล ซึ่งไม่ได้หมายความว่านักออกแบบโมเดลด้อยความสามารถ วิศวกรระบบหลายรายเข้าใจดีว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคพลังงาน การกระจายอุปทาน และการปฏิวัติพลังงานจากประเทศอุตสาหกรรมสู่ประเทศกำลังพัฒนาจะต้องมีสังคมที่เป็นธรรมและสภาพภูมิอากาศที่มีเสถียรภาพรองรับ อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการวิจัยเรื่องข้อจำกัดของธรรมชาติที่มีนักออกแบบโมเดลจำนวนมากขาดโปรแกรมเชิงการเมืองที่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่พวกเขาต้องการได้และตกที่นั่งเดียวกับที่ Kantorovich เคยประสบมาแล้วในยุคทองของเขาหรือประมาณปี 1960 ได้แก่ความเป็นจริงที่ว่าความรู้และฐานะทางสังคมไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้เมื่อถูกขัดขวางโดยกลุ่มผลประโยชน์ เมื่อวิทยาศาสตร์ร่วมกับการรณรงค์ทางสังคมจะก่อตัวเป็นพลังที่เข้มแข็งอย่างเช่นการรณรงค์ต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์ในช่วงสงครามเย็น ไม่มีอะไรที่ทำให้กลุ่มเสรีนิยมใหม่เกรงกลัวได้เท่าเครือข่ายพันธมิตรระหว่างวิทยาศาสตร์กับภาคประชาสังคม หากปราศจากการ่วมมือกันระหว่างสองกลุ่มนี้ เสรีนิยมใหม่ก็ไม่มีอะไรจะต้องกลัว ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่รุนแรงพอ นักออกแบบโมเดลก็จำใจต้องพึ่งพาเทคโนโลยีที่ขึ้นอยู่กับพระเจ้าอย่าง BECCS และ Geoengineering แม้ว่านักวิจารณ์มักกล่าวหาว่านักสังคมนิยมชอบอยู่แต่กับความเพ้อฝัน แต่ความเพ้อฝันที่แท้จริงนั้นคืออนาคตที่ซึ่งทุนนิยมดำรงอยู่ร่วมกับข้อจำกัดของธรรมชาติ (อ่านต่อวันเสาร์)


Social Share