THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย Peter Somerville
วันที่เผยแพร่  5 ธันวาคม 2022
แปลและเรียบเรียงโดย  ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย  https://ecologise.in/2019/01/27/why-ecosocialism-for-a-red-green-future/
อ้างอิง https://theecologist.org/2022/dec/05/problems-ecosocialism

(ต่อจากวันพฤหัสบดี)

เป้าหมายในภาพรวม

นิยามที่สี่ของนิเวศสังคมนิยมดูเหมือนว่าจะให้ความสำคัญต่อสวัสดิภาพของชาวโลกน้อยกว่าการล้มล้างระบบชนชั้นและรัฐ อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้วก็เหมือนกับการทำงานกับผู้ที่ไม่ได้เป็นนักสังคมนิยมที่มีเป้าหมายและให้ความสนใจในประเด็นโลกร้อนและระบบนิเวศเสื่อมโทรม และนิยามสุดท้ายก่อให้เกิดคำถามว่าอะไรคือตรรกะด้านสิ่งแวดล้อม

สมมติว่าเรากำหนดนิยามแรกให้เป็นเป้าหมาย แล้วจึงหาวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุดที่จะพาเราไปสู่เป้าหมายนั้น และสมมติต่อไปอีกว่าอนาคตที่ยั่งยืนสามารถสร้างได้โดยใช้แหล่งพลังงานทดแทน ใช้วัสดุรีไซเคิล และใช้ระบบเกษตรนิเวศแต่เพียงอย่างเดียว แล้วเป้าหมายของนิเวศสังคมนิยมอื่นๆที่จำเป็นต่อการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนล่ะคืออะไร ตัวอย่างเช่นอะไรคือบทบาทของรัฐบาลในการเปลี่ยนผ่านพลังงาน (ถ้ามี)

บทความนี้มุ่งเน้นไปที่ข้อจำกัดของแนวทางที่ให้ความสำคัญต่อการล้มล้างระบบทุนนิยมเสรีเป็นหลัก แม้ว่าจะเป็นวิธีการที่เพียงทำให้เราบรรลุเป้าหมายในภาพใหญ่เท่านั้น

การารณรงค์โดยภาคประชาชนเป็นคำตอบหรือไม่?

สิ่งที่ขาดหายไปในการพยายามทำความเข้าใจนิเวศสังคมนิยมครั้งนี้ได้แก่ประเด็นด้านวิธีการที่จะนำเราไปสู่เป้าหมาย ตัวอย่างเช่น Michael Albert เป็นทั้งนักสังคมนิยมคนสำคัญที่เสนอวิสัยทัศน์เกี่ยวกับอนาคตในอุดมคติและสิ่งที่จำเป็นในการสร้างอนาคตดังกล่าว และเป็นผู้ที่ “ละเลยคำถามเชิงกลยุทธ์ ข้อดีข้อเสีย และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในกระบวนการเปลี่ยนผ่านและหลังจากนั้น” อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม แนวทาง ‘สัจนิยม’ ที่เขาสนับสนุนนั้นก็ยังก่อให้เกิดคำถามและความขัดแย้งตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ‘ลดการใช้พลังงานสุทธิ’, ‘ตำแหน่งงานด้านสิ่งแวดล้อม’ และภาระหนี้สินที่จะเกิดขึ้นจาก Green New Deal ที่สุดโต่ง และยังเป็นที่สงสัยกันว่าเขากล่าวเกินความเป็นจริงเกี่ยวกับอุปสรรคทางเทคนิคและการเงินสำหรับการเปลี่ยนผ่านสังคมให้เป็นนิเวศสังคมนิยม เราอาจเห็นด้วยกับ Michael Albert ว่าการเปลี่ยนผ่านที่เป็นรูปธรรมนั้นจำเป็นต้อง “ใช้กระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในระยะยาวทั้งทางด้านเศรษฐกิจการเมือง วัฒนธรรม และสังคม” แต่ว่าการกล่าวเกินความเป็นจริงเกี่ยวกับอุปสรรคตามที่กล่าวมานั้นก็จะทำให้ผู้คนหมดกำลังใจที่จะลุกขึ้นต่อสู้

การลดคาร์บอน

ในหนังสือชื่อ Future on Fire แต่งโดย David Camfield ซึ่งเป็นนักนิเวศสังคมนิยมก็ให้เหตุผลว่าความหวังเดียวของเราในการสร้างอนาคตที่มั่นคงคือใช้การรณรงค์จากภาคประชาสังคมที่มุ่งความร่วมมือในระยะยาวจากกลุ่มคนที่หลากหลาย เปิดรับความเห็นจากสาธารณชนอย่างกว้างขวาง เรียกร้องความเป็นธรรม เป็นอิสระจากรัฐ และทำหน้าที่เป็นรัฐสภาพิเศษ แทนที่จะเป็นการบริหารอำนาจตามเป้าหมายของสังคมนิยมแบบดั้งเดิม การรณรงค์จากภาคประชาสังคมจะต้อง “คานอำนาจกับฝ่ายรัฐเพื่อความเป็นธรรมทางภูมิอากาศ” ดังนั้นการรณรงค์จากภาคประชาสังคมจึงเป็นงานของนักนิเวศสังคมนิยมโดยตรง และบทนำของ Camfield Book ที่แต่งโดย Dharna Noor ก็กำหนดว่าการเรียกร้องเรื่องความเป็นธรรมทางภูมิอากาศจะต้องรวมถึง “การลด เลิกการใช้พลังงานฟอสซิลโดยทันที วางผังเมืองและการขนส่งใหม่ สร้างระบบอาหารที่ยั่งยืนและมีมนุษยธรรมมากขึ้น และลดก๊าซเรือนกระจกในทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจ”

การควบคุม

อย่างไรก็ตาม เราไม่พบรายละเอียดเหล่านี้ในส่วนที่เหลือของ Camfield Book มีเพียงการกล่าวถึง “การเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างรวดเร็วและเป็นธรรม และแนวทางดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกที่สอดคล้องกับความเป็นธรรมทางภูมิอากาศ รวมถึงการปลูกป่าคาร์บอนในพื้นที่ขนาดใหญ่” และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ความเป็นกรดของน้ำทะเล ภาวะโรคระบาด และปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นๆ

ในที่สุดแล้ว การรณรงค์จากภาคประชาสังคมยังขาดมิติทางเทคโนโลยีและการเงิน ตัวอย่างเช่น เป็นไปไม่ได้ที่จะลดและเลิกการใช้พลังงานฟอสซิลโดยทันทีแม้แต่ในระดับประเทศเพราะว่าโครงสร้างพื้นฐานของสังคมสมัยใหม่ยังต้องพึ่งพา Gas Boiler เครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน ปูนซีเมนต์และเหล็ก ปุ๋ยอนินทรีย์ และพลาสติกเป็นหลัก ในขณะที่ Michael Albert แสดงความกังวลเกี่ยวกับภาพอนาคตของ ‘นิเวศสังคมนิยมเผด็จการ’ ที่ซึ่งขบวนการเคลื่อนไหวสีเขียวกับแดง (สื่อถึงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสังคมนิยม) ได้รับเลือกตั้งและนำมาตรการฉุกเฉินออกมาใช้ และกังวลว่าจะเกิดการประณามกลุ่มชนชั้นสูงหัวรุนแรงเพราะจะเป็นอุปสรรคต่อการรวมกลุ่มรณรงค์ของภาคประชาสังคม

กลุ่มชนชั้นสูงหัวรุนแรงนี้เป็นคนกลุ่มน้อยที่มีความมุ่งมั่นสูงและโจมตีเป้าหมายของรัฐและภาคธุรกิจอาจด้วยวิธีการรุนแรงหรือไม่ก็ได้ Camfield กล่าวโดยไม่สนับสนุนต่อความรุนแรงว่า “การโจมตีโดยคนกลุ่มน้อยนี้จะไม่ทำให้เกิดการปฏิรูปความเป็นธรรมทางภูมิอากาศได้ แต่จะทำให้รัฐออกมาตรการควบคุมเข้มงวดขึ้นและทำให้การสร้างแนวร่วมรณรงค์เป็นไปได้ยากลำบากขึ้น” (อ่านต่อวันอังคารหน้า)


Social Share