THAI CLIMATE JUSTICE for All

Social Share

เขียนโดย Peter Somerville
วันที่เผยแพร่  5 ธันวาคม 2022
แปลและเรียบเรียงโดย  ปิโยรส ปานยงค์
ภาพประกอบโดย Mark Hrkac
อ้างอิง https://theecologist.org/2022/dec/05/problems-ecosocialism

นิเวศสังคมนิยมก้าวเข้ามาเป็นความหวังใหม่ของการไปให้ถึงเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อหลีกเลี่ยงหายนะด้านภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม แต่อะไรคือนิเวศสังคมนิยม มันคือระบบนิเวศใช่หรือไม่ แล้วเราต้องเปลี่ยนตัวเองเป็นสังคมนิยมด้วยไหม? แท้ที่จริงแล้วนิเวศสังคมนิยมมีความหมายแตกต่างกันไปตามแต่ผู้รับสารคือใคร และยังไม่มีความหมายหนึ่งเดียวที่ชัดเจน และบทความนี้ได้นำบางนิยามมาวิเคราะห์หาความหมายและสรุปว่าการใช้คำว่านิเวศสังคมนิยมนอกจากจะมีภาพลักษณ์ที่เป็น ‘สังคมนิยม’ จึงไม่ได้รับความนิยมในแวดวงการเมืองเท่าที่ควรแล้ว ยังลดความสำคัญของ ‘ระบบนิเวศ’ ให้เหลือเพียง ‘สังคม’ อีกด้วย

ไม่แบ่งแยกชนชั้น
นิเวศสังคมนิยมคืออะไร? ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างนิยามที่เราอาจพบได้ในวรรณกรรมต่างๆ:
หนังสือที่แต่งโดย Hans Baer ชื่อ Democratic Eco-socialism as a Real Utopia ได้บรรยายนิเวศสังคมนิยมไว้ว่าเป็นระบบโลกที่ “มีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่าระบบเผด็จการมากเพื่อรับประกันว่าประชาชนสามารถเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นโดยไม่ทำลายความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมด้วยการยอมรับว่ามนุษย์อาศัยอยู่ในโลกที่เปราะบางที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่จำกัด”

ส่วน David Klein ผู้แต่ง System Change not Climate Change เขียนไว้ว่า “นิเวศสังคมนิยมคือการเรียกร้องตามแบบประชาธิปไตยให้มีการผลิตที่ยั่งยืนเพื่อตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐาน มิใช่ความฟุ่มเฟือยของมนุษย์ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือนิเวศสังคมนิยมเสนอให้ใช้ระบบเศรษฐกิจที่ไม่ต้องมีอัตราการเติบโต”

และในวารสาร Capitalism Nature Socialism ฉบับล่าสุด Michael Albert มองว่านิเวศสังคมนิยมเป็นวิธีการทางการเมืองที่เปิดกว้างและ “ให้ความสำคัญกับมูลค่าเพื่อการใช้สอยมากกว่าเพื่อการแลกเปลี่ยน ใช้ความเป็นเจ้าของร่วมในการสร้างและควบคุมตลาด และลดช่องว่างของการบริโภคระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา” และ Salvatore Engel-Di Mauro ให้ข้อสังเกตว่านิเวศสังคมนิยมนั้น “ให้ความสำคัญแก่วัตถุประสงค์และประเด็นด้านสังคมนิยมเหนือสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ” และ ‘สังคมนิยม’ หมายถึง “แนวความคิดของปัจเจกที่ต้องการสังคมที่ปราศจากทั้งรัฐและชนชั้น”

เรื่องของกำไร
วารสาร Capitalism Nature Socialism ฉบับปี 2020 Samuel Day Fassbinder เสนอว่า “นิยามที่ตรงที่สุดของคำว่านิเวศสังคมนิยมอาจเป็นสังคมประชาธิปไตยที่มีความยั่งยืนและประชาชนเป็นผู้กำกับดูแลการผลิต”

ส่วน Michael Löwy ได้ให้กรอบนิยามของคำว่านิเวศสังคมนิยมไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อว่า Ecosocialism in 2015 ดังนี้ “คือสังคมที่เคารพต่อระบบนิเวศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย เคารพต่อความเท่าเทียมกันขอองคนในสังคม และให้ความสำคัญกับมูลค่าเพื่อการใช้สอย แนวคิดนี้ใช้ความเป็นเจ้าของร่วมต่อทรัพยากรในการผลิต การบวนการวางแผนแบบประชาธิปไตยที่ทำให้สังคมสามารถกำหนดเป้าหมายของการลงทุนและผลผลิตได้ และใช้โครงสร้างทางเทคโนโลยีการผลิตแบบใหม่”

นิยามแรก ที่เสนอมานั้นเป็นการอธิบายความหมายของระบบสังคมนิยมได้เป็นส่วนมากแม้ว่าจะไม่ทั้งหมดตามที่ผู้อ่านของ The Ecologist ต้องการ แต่ก็มิใช่ความหมายโดยทั่วไปของคำว่านิเวศสังคมนิยมที่สหภาพและการจัดการสถานที่ทำงานเป็นสิ่งสำคัญและมีประสิทธิภาพเพราะมาจากการตัดสินใจร่วมกันโดยแรงงาน นิเวศสังคมนิยมมิได้หมายความว่าเราจะต้องละทิ้งทุนนิยม รัฐ หรือระบบชนชั้น และจัดตั้งระบบกำกับดูแลโดยสาธารณชนขึ้นมา แต่มีความเป็นไปได้ที่จะปฏิรูประบบทุนในปัจจุบันให้มีความเป็นประชาธิปไตย เป็นธรรม และยั่งยืนขึ้น

นิยามที่สอง ใกล้เคียงกับนิยามแรกแต่เพิ่มเติมคำขวัญของสังคมนิยมเก่าลงไปว่าการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการมิใช่กำไร อย่างไรก็ตาม นิยามนี้ละเลยความสามารถของทุนนิยมที่สามารถตอบสนองได้ทั้งความต้องการและกำไร และความเกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยนั้นไม่ชัดเจน

ระบบนิเวศ
ทุกนิยามยกเว้นนิยามของ Engel-Di Mauro เน้นไปที่ความเป็นเจ้าของร่วมและการกำกับดูแลร่วมโดยใช้ระบบประชาธิปไตยแต่มิได้อธิบายว่าแนวทางเหล้านี้จะแก้ไขปัญหาโลกร้อนได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น Klein เพียงแค่ประกาศว่า ‘ในการเป็นนิเวศสังคมนิยมนั้น เราจะต้องควบคุมดูแลอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ภายใต้ระบอบสังคมนิยมให้หมด ” หรือที่ Albertประเมินว่า “ผู้ที่สนับสนุนนิเวศสังคมนิยมแสดงให้เห็นว่าทุนนิยมไม่สามารถแก้ปัญหาโลกร้อนหรือสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืนได้” แต่การตีความของ Engel-Di Mauro นั้นแตกต่างออกไปโดยเชื่อมโยงนิเวศสังคมนิยมเข้ากับจุดสิ้นสุดของอำนาจรัฐและชนชั้น

ส่วนนิยามที่ 3, 4, และ 5 นั้นให้ความสำคัญกับคำว่า ‘สังคม’ เหนือ ‘ระบบนิเวศ’ แต่นิยามที่สามมิได้รวมเอามิติด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไว้ด้วยอย่างชัดเจนนัก ดังนั้นจึงเป็นได้เพียงสังคมนิยม มิใช่นิเวศสังคมนิยม แม้ว่าจะมีการกล่าวถึงว่าการลดพฤติกรรมการบริโภคในประเทศตะวันตกจะส่งผลดีต่อระบบนิเวศอย่างไรบ้าง (อ่านต่อวันเสาร์นี้)


Social Share